Sunday, December 14, 2008

Black Poplar, Pioppino, Yanagi-matsutake, Zhuzhuang-Tiantougu

Agrocybe aegerita | Pioppino - Mushroom Spores & Cultures Mushroom Cultures - Magic Online Mushrooms shop - Mushroom Cultivation for everyone! Spore Syrings Equipment Supplies Cubensis Shrooms

มาตรฐานของแม่น้ำลำคลองและคุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ

มาตรฐานของแม่น้ำลำคลองและคุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ

คอนกรีตมวลเบา

คอนกรีตมวลเบา

. : : บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด ยินดีต้อนรับ : : .

. : : บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด ยินดีต้อนรับ : : .

การใช้ EM แบบน้ำ เป็นการใช้ EM หัวเชื้อโดยตรง และนำ EM หัวเชื้อ ไปประยุกต์เป็น EM ขยาย, สารขับไล่แมลง, ฮอร์โมน ฯลฯ ได้ดังนี้

EM หัวเชื้อ







1. EM หัวเชื้อ ใช้ประโยชน์ได้ทุกอย่าง แต่บางกรณีควรใช้ EM ขยายแทน ยกเว้นในเรื่องการเลี้ยงสัตว์ การใช้ในครัวเรือน และเพื่อการหมักทุกชนิดให้ใช้ EM หัวเชื้อ ซึ่งจะมีรายละเอียดการใช้เฉพาะเรื่องนั้นๆ ต่อไป


2. EM ขยาย เป็นการปลุกจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพักให้ตื่นขึ้น โดยการให้อาหาร ทำให้เพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้นๆ


วิธีทำ กรณีที่จะขยายในภาชนะ 1 ลิตร (ภาชนะที่ใช้ต้องมีฝาปิดสนิท) ใส่น้ำครึ่งลิตร เติม EM และกากน้ำตาล อย่างละ 40 ซีซี (4 ฝา หรือ 4 ช้อนแกง) เขย่าให้ละลาย แล้วเติมน้ำให้เต็ม ปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 7 วัน แล้วนำไปใช้ได้ และควรใช้ให้หมดภายใน 7 วัน


หมายเหตุ
1. น้ำต้องสะอาด เช่น น้ำฝน น้ำบ่อ หากเป็นน้ำประปาต้องใส่ภาชนะ เปิดฝาไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหย
2. ภาชนะที่ใช้ในการหมักควรเป็นภาชนะที่ไม่แตกง่าย เนื่องจากจะเกิดแรงดันในระยะที่หมัก และต้องมีฝาที่ปิดสนิท เช่น ฝาเกลียว หากภาชนะไม่มีฝา ใช้พลาสติกคลุม ยางรัดแน่น
3. คำว่า “ฝา” หมายถึง ฝาแกลลอน EM ขนาด 1 ลิตร

















- EM5 หรือสุโตจู -





EM5 หรือสุโตจู เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ฉีดพ่นเป็นประจำ พืชจะสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีแมลงศัตรูพืชรบกวน



ส่วนผสม












1. EM


1


ส่วน


2. กากน้ำตาล


1


ส่วน

3. น้ำส้มสายชูกลั่น 5 %


1


ส่วน

4. เหล้า 35-40 ดีกรี


1


ส่วน

5. น้ำสะอาด


6


ส่วน

ส่วน ยึดตามภาชนะที่ใช้ตวง ภาชนะหมัก หากทำในปริมาณไม่มาก สามารถใช้ขวดน้ำอัดลมได้ แต่ควรมีลักษณะเป็นฝาเกลียว ปิดสนิท อากาศเข้าไม่ได้
















วิธีทำ กรณีที่จะขยายในภาชนะ 1 ลิตร (ภาชนะที่ใช้ต้องมีฝาปิดสนิท) ใส่น้ำครึ่งลิตร เติมกากน้ำตาล น้ำส้มสายชู เหล้า และ EM อย่างละ 100 ซีซี (10 ฝา หรือประมาณครึ่งแก้ว) เขย่าให้ละลาย แล้วเติมน้ำให้เต็ม ปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 15 วัน แล้วนำไปใช้ได้
*ต้องใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน


วิธีใช้ ผสมน้ำ 1,000 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ EM5 1 ฝา) ฉีดพ่น
- พืชผัก ทุก 5-7 วัน
- ไม้ดอก ทุก 7-10 วัน
- พืชไร่ พืชสวน ทุก 15 วัน
หากมีแมลงศัตรูพืชมาก ฉีดพ่นให้บ่อยขึ้น

หมายเหตุ
1. ถ้าเป็นพืชใบแข็งใช้อัตราส่วน 500 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ EM5 2 ฝา)
2. สามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ได้
3. ควรฉีดพ่นช่วงก่อนค่ำ หรือเช้าตรู่
4. สารเอสเทอร์ที่เกิดจากการหมัก EM5 จะทำให้ระบบการย่อยอาหารของแมลงศัตรูพืชไม่สามารถทำงานได้ ทำให้ท้องอืดตาย
5. สามารถผสมสารจับใบ เช่น กากน้ำตาล นมสด น้ำว่านหางจระเข้ ใน อัตราส่วนเท่ากับ EM5 ได้











- ซูเปอร์ EM5 หรือซูเปอร์สุโตจู -





ซูเปอร์ EM5 เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชเฉพาะกิจ แทน EM5 ในช่วงที่แมลงลงมาก หรือหมัก EM5 ไม่ทัน ใช้เป็นสารกดใบอ่อน และใช้ ในด้านการประมง การเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการกำจัดเหา เห็บ หมัด รังแค ด้วย



ส่วนผสม










1. EM


1


ส่วน

2. กากน้ำตาล


1


ส่วน

3. น้ำส้มสายชูกลั่น 5 %


1


ส่วน

4. เหล้า 35-40 ดีกรี


2


ส่วน

ส่วน ยึดตามภาชนะที่ใช้ตวง ภาชนะหมัก หากทำในปริมาณไม่มาก สามารถใช้ขวดน้ำอัดลมได้ แต่ควรมีลักษณะเป็นฝาเกลียว ปิดสนิท อากาศเข้าไม่ได้











วิธีทำ กรณีที่จะขยายในภาชนะ 1 ลิตร (ภาชนะที่ใช้ต้องมีฝาปิดสนิท) เติมกากน้ำตาล น้ำส้มสายชู และ EM อย่างละ 200 ซีซี (1 แก้ว) และเหล้า 400 ซีซี (2 แก้ว) เขย่าให้ละลาย ปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 24 ชั่วโมง แล้วนำไปใช้ได้
*ต้องใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน

วิธีใช้
1. ผสมน้ำ 1,000 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ซูเปอร์ EM5 1 ฝา) ฉีดพ่นช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชมาก
2. ใช้กดใบอ่อนระยะผลิดอกออกผล เกิดใบอ่อน ผสมน้ำ 1 : 500 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ซูเปอร์ EM5 2 ฝา)
3. ใช้แก้ปัญหาการประมง เช่น กรณีมีโรคระบาด หรือมีอาการผิดปกติของสัตว์น้ำ ใช้ซูเปอร์ EM5 ไร่ละ 3-5 ลิตร (ขึ้นอยู่กับอาการของโรค)
4. ใช้กำจัดเหา เห็บ หมัด และแมลงต่างๆ ที่เป็นอันตราย รวมถึงรังแคของสุนัข ผสมน้ำ 50 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ซูเปอร์ EM5 1 แก้ว) อาบ หรือฉีดพ่น
5. สามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ได้
6. สามารถผสมสารจับใบ เช่น กากน้ำตาล นมสด น้ำว่านหางจระเข้ ในอัตราส่วนเท่ากับซูเปอร์ EM5 ได้

WAVE ถังน้ำมาตรฐานสากล สู่บ้านคุณ

WAVE ถังน้ำมาตรฐานสากล สู่บ้านคุณ

Siaminfobiz - เยี่ยมชมการเพาะเห็ด ที่สุพรรณบุรี รายได้ดี เดือนละ 300,000 บาท ทำมาแล้ว 16 ปี

Siaminfobiz - เยี่ยมชมการเพาะเห็ด ที่สุพรรณบุรี รายได้ดี เดือนละ 300,000 บาท ทำมาแล้ว 16 ปี

MCOT News : ข่าวภูมิภาค : หนาวจัด เห็ดไม่ออกดอก เกษตรกรขาดทุนหนัก

MCOT News : ข่าวภูมิภาค : หนาวจัด เห็ดไม่ออกดอก เกษตรกรขาดทุนหนัก

เทศกาลเห็ด ผักเพื่อสุขภาพโครงการหลวง

เทศกาลเห็ด ผักเพื่อสุขภาพโครงการหลวง

+ + ราคาสินค้าอัพเดตประจำวัน + +

+ + ราคาสินค้าอัพเดตประจำวัน + +

รูปการเพาะเห็ด

เห็ด

Wednesday, December 10, 2008

การผลิตก้อนเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่นของฟาร์มเห็ดบางกอก

bkk-mushroom - Content: "การผลิตก้อนเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่นของฟาร์มเห็ดบางกอก"

บ้านไร่ เรือนเห็ด เชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ด :: Count : :: By ThCity.com

บ้านไร่ เรือนเห็ด เชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ด :: Count : :: By ThCity.com

ฟาร์มเห็ดภัทร บางปู

ฟาร์มเห็ดภัทร บางปู

"ศัตรูของเห็ดนางฟ้า"

1. หนูและแมลงสาบ ทำลายตั้งแต่ระยะเชื้อ
และดอกเห็ด การกำจัดควรใช้ยาเบื่อหรือกาวดัก

2. ไร จะระบาดมากเมื่อความชื้นต่ำ
จึงไม่ควรปล่อยให้เกิดการหมักหมมของก้อนเชื้อ
บริเวณโรงเพาะ การปราบควรเน้นเรื่องความสะอาด
และการป้องกันมากกว่าการใช้สารเคมี
3. แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่อายุมาก
แมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอน
แล้วแพร่พันธุ์ ควรนำก้อนเชื้อชนิดนี้ออกจากโรงเพาะ
4. โรคจุดเหลือง พบในเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้าง
ในการเก็บหรือน้ำที่ใช้รดสกปรก โดยเฉพาะ
เมื่ออากาศร้อนจัด
5. ราเมือก ลักษณะเป็นสายสีเหลือง มีกลิ่นคาวจัด
ระบาดโดยสปอร์ ควรป้องกันโดยนำก้อนเชื้อที่หมดอายุ
และเศษวัสดุในเรือนเพาะออกอย่าให้เกิดการหมักหมม

อีสานเพาะเห็ดนางฟ้าเมืองหนาวสำเร็จ

อีสานเพาะเห็ดนางฟ้าเมืองหนาวสำเร็จ: "เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน คณะอาจารย์ นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) 50 คน ศึกษาดูงานการเพาะเห็ดสายพันธุ์ต่างๆ ภายในสวนเห็ดรุจิรา ถนนกาฬสินธุ์-กมลาไสย บ้านโคกกลาง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ หลังจากเพาะพันธุ์เห็ดนางฟ้าหนาว ซึ่งเป็นเห็ดนางฟ้าสายพันธุ์ใหม่ และเห็ดหลินจือ ได้เป็นผลสำเร็จแห่งแรกในภาคอีสาน นายนิมิต รอดภัย เจ้าของสวนเห็ดรุจิรา กล่าวว่า ทำวิจัยและทดลองปรับสายพันธุ์เพาะเห็ดนางฟ้า ซึ่งเป็นเห็ดที่เกิดได้ดีเฉพาะพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมากว่า 5 ปี ขณะนี้สามารถเพาะในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งมีอากาศร้อนๆ หนาวๆ ได้เป็นผลสำเร็จและมีคุณภาพเป็นแห่งแรก ตั้งชื่อว่า 'เห็ดนางฟ้าหนาว'

'เห็ดนางฟ้าหนาวแตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะมีขนาดดอกใหญ่ หนา น้ำหนักดี รสชาติดีกว่าเห็ดนางฟ้าจากที่อื่น จะส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ ราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท ขณะนี้เป็นที่ต้องการของตลาดจำนวนมาก และยังเพาะเห็ดหลินจือ ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกในประเทศจีนได้เป็นผลสำเร็จอีกด้วย ปัจจุบันสวนเห็ดรุจิราเพาะปลูกเห็ดชนิดต่างๆ ได้แล้วกว่า 10 ชนิด' นายนิมิตกล่าว (กรอบบ่าย)"

Daily News Online : Print News

Daily News Online : Print News

การเพาะเห็ดหลินจือ

TARAD.com - ตลาดนัดรวมร้านค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทย เว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ สำเร็จรูป พร้อม ลูกค้า นับล้าน

TARAD.com - ตลาดนัดรวมร้านค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทย เว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ สำเร็จรูป พร้อม ลูกค้า นับล้าน

ISUKOSHI เครื่องฟอกอากาศ ระบบน้ำ รุ่น IS-969
2880 Baht

อีสานเพาะเห็ดนางฟ้าเมืองหนาวสำเร็จ

อีสานเพาะเห็ดนางฟ้าเมืองหนาวสำเร็จ

:: ศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานจังหวัดขอนแก่น ::

:: ศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานจังหวัดขอนแก่น ::

เมื่อบ่มก้อนเชื้อเห็ดได้ที่ ก็ย้ายเข้าไปไว้ในโรงเรือน และทำการเปิดปากก้อนเชื้อออก ซึ่งในโรงเรือนนั้นจะต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 27-28 องศาเซลเซียส ระดับความชื้นให้อยู่ที่ 90% การให้น้ำก็จะให้ตอนที่อุณหภูมิในห้องลดลง จากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ก็สามารถจะเริ่มเก็บผลผลิตได้

การเก็บเห็ดยานางินั้นจะเข้าไปเก็บเป็นรอบ ๆ รอบละ 4 ชั่วโมง การเก็บจะต้องเก็บดอกที่โตกำลังดีโดยให้สังเกตจากเยื่อที่อยู่ใต้ดอก เก็บดอกที่เยื่อยังไม่ขาด เมื่อเก็บผลผลิตครบ 5 วัน ก็ให้หยุดเก็บ เพื่อเป็นการพักก้อนเชื้อ ดูแลให้น้ำปกติประมาณ 15 วัน ก็สามารถเก็บใหม่ได้อีก

“เห็ดที่เก็บออกมาจากโรงเรือนนั้นจะต้องนำไปล้างให้สะอาด แล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการช็อกเห็ดให้คงที่ ไม่โตไปกว่าเดิม”

ช่วง 5 วันต่อ 1 โรงเรือน จะสามารถเก็บเห็ดได้ประมาณ 130 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละประมาณ 140-160 บาท การลงทุนเพาะแต่ละรอบมีระยะเวลาการเก็บนานประมาณ 8 เดือน เก็บได้ 12 รอบ แต่ละรอบระยะเวลาเก็บและพักก้อนเชื้อรวม 20 วัน มีรายได้ราว 18,000-20,000 บาทต่อรอบ หรือรวมแล้วประมาณ 216,000–240,000 บาท

Tuesday, December 2, 2008

การตลาด

GO AHEAD TEAM
การตลาด

ตลาดเห็ดสำหรับประเทศไทยมีการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 95 ส่วนการผลิตเพื่อส่งออกคิดเป็นร้อยละ 5 ได้แก่ เห็ดแห้ง เห็ดสดหรือแช่เย็น และเห็ดบรรจุกระป๋อง เห็ดที่ผลิตออกมามีตลาดจำหน่ายใน 2 รูปแบบ คือ

1.ตลาดสด

1.1 ตลาดขายส่งนับ เป็นตลาดที่จะพบเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตเห็ดในปริมาณมากๆ สำหรับตลาดสดเพื่อค้าเห็ดโดยเฉพาะยังไม่มี จึงทำให้ผู้เพาะเห็ดยังไม่ทราบราคาผลผลิตที่แน่นอนได้ ต้องส่งเห็ดไปขายแล้วจึงจะทราบราคา ราคาผลผลิตค่อนข้างต่ำ ผลผลิตที่ขายมีการสูญเสียมากพอสมควร เนื่องจากไม่มีห้องเย็น

1.2 ตลาดใกล้บ้าน เป็นตลาดผู้เพาะเห็ดส่งขายชนิดทั่วไป ขายได้แน่นอน มีปริมาณและชนิดชัดเจน ราคาที่ขายได้เป็นไปตามกลไกของตลาด ควรมีการประกันราคาหรือแจ้งราคาขายล่วงหน้า

1.3 ตลาดค้าปลีกหรือการขายตรง การขายวิธีนี้จะต้องมีผลผลิตตามที่ลูกค้าต้องการเช่น

การขายผลผลิตตามงานต่างๆ ของเกษตรกร วิธีนี้ทำให้ได้ราคาที่สูง ผู้ขายเป็นผู้กำหนดราคา แต่ขายผลผลิตได้ไม่มากเท่าการขายในตลาดทั่วไป

1.4 ตลาดซุปเปอร์มาร์เก็ต การขายในตลาดนี้น่าสนใจ เนื่องจากมีตลาดที่แน่นอน แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการให้เครดิตซึ่งใช้ระยะนานกว่าจะได้รับเงินกลับคืน ต้องมีผลผลิตส่งออกให้ต่อเนื่อง และรวมทั้งผลผลิตต้องมีคุณภาพสูง

2.ตลาดแปรรูป

2.1 โรงงานแช่แข็ง สามารถทำได้กับผลผลิตทุกชนิด แต่ต้องเป็นไปตามคำสั่งซื้อ สิ่งที่ควรระมัดระวัง คือ คุณภาพของสินค้าและการปนเปื้อน ขณะนี้ยังมีการผลิตน้อยเนื่องจากยังมีปริมาณเห็ดสดออกมามาก และหาได้ง่าย จึงมีคนนิยมบริโภคน้อย

2.2 โรงงานบรรจุกระป๋อง ส่วนใหญ่จะเป็นเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า และเห็ดแชมปิญอง ขึ้นอยู่กับฤดูการผลิตและตามคำสั่งซื้อ ราคาเห็ดจะต่ำกว่าตลาดสด ทำให้ผู้ผลิตไม่ค่อยสนใจแม้จะมีตลาดที่แน่นอน

2.3 เห็ดแห้ง ส่วนใหญ่จะเป็นเห็ดหูหนู แต่ก็มีเห็ดสกุลนางรมอยู่บ้าง ถ้าสามารถผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพตามคำสั่งซื้อ และทำได้อย่างต่อเนื่อง น่าจะขยายตลาดได้เพิ่มขึ้น

2.4 เห็ดแปรรูปต่างๆ เช่น การทำแห้งในรูปอบ ทอดหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นับเป็นตลาดอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจและคนไทยสามารถทำได้ เนื่องจากเรามีผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารจากเห็ดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแหนมเห็ด เห็ดสวรรค์ น้ำพริก ข้างเกรียบ ทองม้วน น้ำปลา ซีอิ้ว และลูกชิ้นเห็ด เป็นต้น ซึ่งยังสามารถขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อีกมาก โดยเฉพาะเห็ดที่ถือว่ามีโปรตีนสูง ถ้านำมาแปรรูปเป็นของขบเคี้ยวสำหรับเด็กได้ก็จะมีคุณค่าในทางอาหารมากเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเห็ดเป็นอาการที่สามารถบริโภคได้ประจำวัน และราคาต่อหน่วยการบริโภคยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ

เห็ดนางฟ้า แม่โจ้

GO AHEAD TEAM

Sonoma County Mycological Association | Edible Mushroom Cultivation

Sonoma County Mycological Association | Edible Mushroom Cultivation

GO AHEAD TEAM

GO AHEAD TEAM

โรคเห็ดถุง



โรคเห็ดถุงที่สำคัญและพบโดยทั่วไปมีดังนี้ โรคเกิดจากเชื้อรา โรคเกิดจากเชื้อไวรัส และ โรคเกิดจากเชื้อบักเตรี



โรคเกิดจากเชื้อรา



ราดำหรือเชื้อรากลุ่มแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus)



อาการ ลักษณะของถุงเห็ดหรือก้อนเชื้อเห็ดโดยทั่วไปบางส่วนของถุงเห็ดจะมีสีเขียวเข้มเกือบดำ อาจเกิดที่ส่วนบนใกล้ปากถุงแล้วลามลงไปข้างล่าง หรืออาจเกิดจากด้านล่างขึ้นไปก็ได้ บางส่วนของถุงเห็ดอาจมีสีน้ำตาลเกิดขึ้นติดกับบริเวณที่มีสีเขียวเข้ม เมื่อนำก้อนเชื้อเห็ดที่มีลักษณะดังกล่าวไปแยกเชื้อบริสุทธิ์ พบว่า มีเชื้อรา Aspergillus 3 กลุ่ม คือ Aspergillus flavus, A. fumigatus และ A. niger



เชื้อราดำโบไตรไอดิฟโพลเดีย (Botryodiplodia)



อาการ ลักษณะของถุงเห็ดเป็นดังนี้ คือ ขี้เลื่อยในถุงเห็ดจะมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เชื้อราสีขาวจะขยายกว้างขึ้น เมื่อทิ้งไว้นาน จะสังเกตเห็นก้อนเล็ก สีดำนูนออกมาที่ผิวของถุงพลาสติกเนื่องจากเชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งภายในมีสปอร์เกิดขึ้นจำนวนมาก



เชื้อรากลุ่มเขียว หรือ Green Mould (Trichoderma. Gilocladium)



อาการ ลักษณะการปนเปื้อนของถุงเห็ดจากราเขียวจะสังเกตเห็นได้ง่าย เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราสีเขียวใสๆ เมื่อเกิดรวมกันเป็นกระจุกจึงทำให้เห็นเป็นหย่อมสีเขียวมะกอกหรือเขียวเข้ม ในถุงเห็ดบางครั้งจะเห็นเส้นใยสีขาวเจริญเติบโตได้ดีในก้อนเชื้อเห็ด แล้วเปลี่ยนสีไป เนื่องจากเชื้อแก่ เชื้อรากลุ่มเขียวนี้มีหลายชนิด แต่ละชนิดยังมีชนิดย่อยแตกต่างกันไป แต่มีรูปร่างลักษณะต่างๆ ทางสัณฐานวิทยาใกล้เคียงกัน

การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ด
การบ่มเชื้อถุง นำถุงเชื้อเห็ดไปวางตั้งบนชั้นในเรือนบ่มเชื้อ วางแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ หมั่นตรวจดูทุกวัน หากพบถุงเสียหายมีเชื้ออื่นปะปนให้รีบแยกออกมา นำไปนึ่งฆ่าเชื้อแล้วใส่เชื้อเห็ดนางรมหรือเห็ดนางฟ้าลงไปใหม่ แต่ถ้าเสียหายมากๆ ก็ให้ทิ้งไป ก้อนเชื้อเห็ดจะใช้ได้ดีเมื่อเส้นใยเต็มถุงหรือเกือบเต็มถุง เห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดที่โตเร็ว จะใช้เวลาบ่มเชื้อประมาณ ๓-๔ สัปดาห์เช่นเดียวกับเห็ดสีชมพู เห็ดหนูใช้เวลา ๔-๕ สัปดาห์ เห็ดเป๋าฮื้อใช้เวลา ๕-๖ สัปดาห์ส่วนเห็ดหอมจะใช้เวลานานกว่านี้

การเสียหายบริเวณด้านข้างและก้นถุง ทำให้มีเชื้อราอื่นเข้าไปปะปน ซึ่งเกิดจากการแตกตามตะเข็บ รอยต่อของถุง เนื่องจากถุงที่ใช้คุณภาพไม่ดี ดังนั้น อาจจะต้องเปลี่ยนบริษัทผู้ผลิตถุง เลือกใช้ถุงพลาสติกที่มีคุณภาพดีกว่า

การเสียหายจากปากถุง ถ้าเชื้อราปนเปื้อนเป็นชนิดเดียวกันแทบทุกถุงอาจเกิดจากเชื้อข้าวฟ่างสกปรกแล้วแพร่กระจายไปทุกถุง แต่ถ้าเสียเป็นบางถุงและเชื้อราต่างชนิดกันอาจเกิดจากอากาศบริเวณนั้นสกปรก ต้องทำการรักษาความสะอาดและควรเทเชื้อภายในวันรุ่งขึ้นหลังจากฆ่าเชื้อ

การเสียหายจากตัวไร ฟาร์มที่มีการหมักหมม มีเศษอาหารตกหล่นมักจะเกิดเชื้อราและเป็นอาหารของไรเห็ด ซึ่งเมื่อกินเส้นใยเชื้อราแล้วจะกระจายออกหาอาหาร คลานเข้าไปในถุงเชื้อ เกิดการปนเปื้อนเชื้อราภายในถุงหรือกินเส้นใยเห็ดจนเกิดความเสียหายได้ วิธีการแก้ปัญหาคือ ต้องรักษาความสะอา[คำไม่พึงประสงค์]ย่างถี่ถ้วนตลอดเวลา ห้ามหมักหมมเศษเหลือต่าง ๆ ถ้ามีโรงเรือนบ่มเชื้อหมุนเวียนหลายหลังก็จะดีมาก เพราะจะได้พักโรงเรือนเพื่อกำจัดศัตรูเห็ดให้หมดไปเป็นรุ่นๆ ได้ นอกจากนี้ ในขั้นตอนการนำถุงเชื้อมาวางบนชั้นในโรงบ่มเชื้อควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันไร เช่น เซฟวิน ตามอัตราที่แนะนำในฉลาก ละอองยาจะติ[คำไม่พึงประสงค์]ยู่บริเวณด้านนอกถุง ป้องกันไรเห็ดที่จะคลานไปที่ปากถุงได้ ซึ่งไม่มีฤทธิ์ตกค้างเมื่อนำไปเปิดถุงผลิต[คำไม่พึงประสงค์]กเห็ด

โครงการระบบสารสนเทศวิชาการด้�

โครงการระบบสารสนเทศวิชาการด้�

สำนักงานพาณิชย์จังหวัด กระทรว

แปรรูปเห็ดนางฟ้า

สำนักงานพาณิชย์จังหวัด กระทรว

Daily News Online : Agriculture

เกษตรอิทรีย์ กระทรวงเกษตร

Daily News Online : Agriculture