Monday, November 24, 2008

กลุ่มอาชีพเพาะเห็ดปลอดสารพิษ_�

กลุ่มอาชีพเพาะเห็ดปลอดสารพิษ_�

โรงเรือนเพาะเห็ด
เกษตรกรจะสร้างให้มีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ตามกำลังความ สามารถในการผลิตดอกเห็ด โรงเรือนเพาะเห็ดที่ดีจะต้องมีการเก็บรักษาความชื้นได้ดี มีการระบายอากาศได้ดี มีชั้นวางถุงเห็ดที่พอเหมาะสามารถทำงานได้สะดวก

การระบายอากาศในโรงเรือนเพาะเห็ด
มีความสำคัญเหมือนกับในฟาร์มเห็ดขนาดใหญ่เห็ดแต่ละถุงจะหาย ใจปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เมื่อมีก๊าซชนิดนี้มากๆ จะมีผลต่อผลผลิตและรูปร่างของดอกเห็ดได้ โรงเรือนเพาะที่มีการถ่ายเทไม่ดี ผลผลิตจะน้อยลง ดอกเห็ดบิดเบี้ยวดอกมีขนาดเล็ก ดังนั้นโรงเรือนจะต้องจัดให้มีการระบายอากาศทางด้านข้างบ้าง เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป

น้ำและการรดน้ำ
เพื่อรักษาความชื้นในโรงเรือนเพาะก็มีความสำคัญเหมือนกัน ในการลิตดอกเห็ดปกติจะรดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น แต่ถ้าอากาศค่อนข้างแห้ง อาจจะเพิ่มเป็น 3-4 ครั้งน้ำที่ใช้รดเห็ดจะต้องเป็นน้ำจืด ไม่มีคลอรีนเจือปน ไม่เป็นน้ำกร่อยเค็ม โดยเฉพาะน้ำเค็มไม่สามารถจะใช้รดเห็ดได้เลย เพราะว่าจะไม่ทำให้เห็ดออกดอกได้เลย
อุณหภูมิในโรงเรือนเพาะเห็ดก็มีความสำคัญเช่นกัน เห็ดแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตดอกเห็ดไม่เหมือนกัน เห็ดนางรม เห็ดเป่าฮื้อ และเห็ดหูหนูต้องการอุณหภูมิธรรมดาในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูฝน ส่วนเห็ดนางฟ้าและเห็ดหอม ต้องการอุณหภูมิค่อนข้างเย็น ดังนั้นในการผลิตดอกเห็ดแตละฤดูก็ควรมีการจัดการชนิดของเห็ดที่จะผลิตควบคู่ ไปด้วยเพื่อที่ฟาร์มเห็ดจะได้มีรายได้อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี

ระบบตลาดเห็ด
ตลาดโลกยังสดใส ตลาดในยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเห็ดเป็นอาหารที่มีคุณค่าและมีความเป็นยาอยู่ในตัว ลักษณะที่ดีของเห็ดในระบบตลาด
1. สามารถปลูกได้ทั่วไป
2. ใช้ระยะเวลาการผลิตสั้นสามารถปรับปริมาณการผลิตให้เข้ากับตลาดได้รวดเร็ว
3. เป็นการผลิตที่มีข้อจำกัดด้านการลงทุนน้อย เกษตรกรสามารถเริ่มต้นขนาดฟาร์มมากน้อยได้ตามความเหมาะสม
4. ผู้บริโภคคุ้นเคยกับการบริโภคอยู่แล้ว
5. มีชนิดเห็ดและเทคนิคการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิลิ้มลองอยู่เสมอ

ข้อเสียเปรียบในระบบตลาดของเห็ด
1. รูปแบบการตลาด ตลาดเห็ดในประเทศไทย ยังนิยมบริโภคเห็ดสด เพราะมีแหล่งผลิตสินค้าอยู่ใกล้แหล่งตลาด มีโอกาสเลือกชื้อได้ตลอดปี เห็ดแห้งจะนิยมเฉพาะเห็ดหอม เห็ดกระด้าง หรือเห็ดโคน เท่านั้น ส่วนเห็ดกระป๋องประเทศไทยไม่นิยม
2. ระยะเวลาวางตลาด เห็ดมีระยะเวลาการจำหน่ายสั้นมาก ดีที่สุดเพียงแต่ 1 วัน ถ้าเวลามากกว่านั้น คุณภาพจะลดลง ราคาจะเสียเช่น เห็ดบาน เห็ดแก่ และเน่า
3. การกระจายสินค้าในระบบตลาด เป็นข้อจำกัดที่ยังไม่มีผู้ใดสามารถแก้ไขได้เพราะการผลิตเห็ดขึ้นกับดินฟ้า อากาศ ถ้าอากาศแปรปรวน ร้อน หนาว ผิดปกติ การเกิดดอกของเห็ดจะน้อยตลาดขาดแคลน ราคาแพง แต่ถ้าภูมิอากาศเอื้ออำนวยเห็ดธรรมชาติจะเกิดสมทบด้วย เห็ดจะล้นตลาดโดยทันที
4. ค่าของเห็ดในระบบตลาดยังเป็นเพียงตัวเลือก แม้ว่าเห็ดจะมีคุณค่าทางอาหารมีโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และสมุนไพร นานชนิด แต่เมื่อเทียบกับเนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ ราคาเห็ดยังนับว่าแพงมาก เมื่อเทียบกับอาหารหลักและโดยธรรมชาติผู้บริโภคจะไม่บริโภคบ่อยนักในการดำรง ชีวิตประจำวันจึงกลายเป็นอาหารแฟชั่นหรือหิวชั่วคราวเท่านั้น
5. รูปแบบการเสนอขายยังไม่ทันสมัยหรือจูงใจพอพียง ปัจจุบันการขายเห็ดในตลาด ยังใช้รูปแบบเดิม คือ การวางกองใส่ตระกล้า ใส่กระจาด วางบนใบตอง
6. การพัฒนาระบบตลาด ยังไม่มีผู้ให้ความสนใจมากนัก ไม่ว่าส่วนราชการหรือเอกชน ขาดสถิติ ข้อมูลต่างๆ ทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตหรือพัฒนาวิธีการผลิตได้ดีนัก เกษตรกรเรียนรู้จากประสบการณ์ และเสี่ยงในการผลิตเอง

แนวทางการพัฒนาการเพาะเห็ด
การ เพาะเห็ดมาอย่างต่อเนื่องมีเทคนิควิธีการและชนิดของเห็ดหลากหลายเพียงแต่ยัง ขาดการศึกษารวบรวมอย่างจริงจัง เพื่อตรวจสอบและเผยแพร่วิธีการเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกร เพราะปัจจุบันเกษตรกรต่างคนต่างทำ และมีเทคนิคเฉพาะตัว ดังนั้น การพัฒนาการเพาะเห็ด จึงควรพิจารณาดำเนินการดังนี้
1. ผู้มีอาชีพเพาะเห็ด ควรมีการรวมกลุ่ม ก่อตั้งกลุ่มให้ถาวรมั่นคงเพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงานแลกเปลี่ยน เทคโนโลยีการผลิต
2. สถาบันทางวิชาการ นักวิจัย ควรหันมาศึกษาเพื่อหาทางลดต้นทุนการผลิตรูปแบบการเสนอขายและหาทางลดข้อจำกัด ทางด้านการตลาดลง

*** อาชีพการเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่มีลู่ทางแจ่มใส สร้างรายได้ในระยะเวลาสั้น การตลาดยังเป็นไปได้ดีหากทุกฝ่ายร่วมมือแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้

No comments: