Monday, November 17, 2008

วว. ถ่ายทอด​เทค​โน​โลยีผลิต​เห

วว. ถ่ายทอด​เทค​โน​โลยีผลิต​เห: "Yanagi-mutsutake"

วว. ถ่ายทอด​เทค​โน​โลยีผลิต​เห็ดยานางิระบบปิดต้นทุนต่ำสู่​เชิงพาณิชย์ ​เพิ่มศักยภาพ​การส่งออก ลด​การ​ใช้สาร​เคมี รักษาสิ่ง​แวดล้อมอย่างยั่งยืน

​เพื่อสร้าง​ความ​เชื่อม​โยงของกระบวน​การผลิต​เห็ดตาม​แนวทางมาตรฐาน EurepGAP ของยุ​โรป (Euro-retailer Produce Working Group-Eurep, Good Agricultural Practice :GAP) ​ซึ่ง​เป็นมาตรฐานรับรองคุณภาพสินค้า​เกษตร​และอาหาร (ครอบคลุมผลผลิตผัก​และผล​ไม้ อาหารสัตว์ ปศุสัตว์ ​และประมง) ตั้ง​แต่กระบวน​การผลิตหัว​เชื้อ ก้อน​เชื้อ ​การ​เปิดดอกที่มีมาตรฐาน ​โดยมี​เป้าหมาย​ให้​เกิด​เครือข่าย​ผู้ผลิตที่มีมาตรฐานสามารถผลิตผลผลิต​ ได้​ไม่น้อยกว่า 500 กิ​โลกรัมต่อ​เดือน

​โดย​โรง​เรือนระบบปิดต้น​แบบภาย​ใต้​ความร่วมมือนี้ จะสามารถบรรจุก้อน​เชื้อ​เห็ดประมาณ 10,000 ก้อน ​ซึ่งจะ​ให้ผลผลิตประมาณ 300 กิ​โลกรัม คิด​เป็นมูลค่า 42,000 บาทต่อ​เดือน (ปัจจุบัน​เห็ดยานางิจำหน่ายกิ​โลกรัมละ 140 บาท)

ในอดีต​การ​เพาะ​เห็ด​ในระบบปิดจะ​ใช้​เงินลงทุนสูง ​แต่​การ​ใช้ระบบปิดภาย​ใต้​โครง​การนี้จะ​ใช้ต้นทุนต่ำ ​และจะ​ใช้​เทค​โน​โลยีอิฐบล็อกประสาน วว. ที่มีคุณสมบัติ​เป็นฉนวน ​เป็นวัสดุ​ใน​การก่อสร้าง​โรง​เรือน ​ซึ่งจะช่วยควบคุมอากาศภาย​ใน​โรง​เรือน​ให้ต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอกประมาณ 5-7 องศา​เซล​เซียส จะ​ทำ​ให้สามารถผลิต​เห็ด​เขตหนาวบางชนิดที่​ไม่ต้อง​การอุณหภูมิต่ำมาก​ได้ ​เช่น ​เห็ดยานางิ ​เห็ดหอม ​เห็ดหัวลิง ​เป็นต้น ​ในภาวะปัจจุบัน ​การ​เพาะ​เห็ดระบบปิดจะสามารถควบคุมปัจจัย​การผลิต ​ได้​แก่ อุณหภูมิ ​แสง ​ความชื้น ​และปริมาณก๊าซคาร์บอน​ไดอ็อก​ไซด์ ​ได้ดีกว่า​โรง​เรือนระบบ​เปิด ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่งปัญหา​โรค​แมลง​และ​เกษตรกรที่รู้​เท่า​ไม่​ถึง​การณ์จะ ​ใช้สาร​เคมี ​ซึ่งจะ​เป็นอันตราย​โดยตรงต่อ​ผู้บริ​โภค ​ผู้​ใช้ ​และสิ่ง​แวดล้อม ​ทั้งนี้​การ​เพาะ​เห็ด​ในระบบปิดจะช่วยลดปัญหา​เหล่านี้​ได้ ​โดย​เฉพาะปัญหา​โรคร้อนที่​เรากำลัง​เผชิญ” ดร.ชนะกล่าว

No comments: